บทที่ 4



บทที่ 4 ระบบสารสนเทศทางการบัญชีและกระบวนการทางธุรกิจ 

Accounting information systems and business  )




                                             ( ที่มารูปภาพ : http://www.bangkokkij-accounting.com/ )

     การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)

                การบริหารทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management ) หมายถึง การจัดการในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรในองค์การนั้นๆ ให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ เต็มความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลให้มากที่สุด ในขณะเดียวกันก็เพิ่มพูนความรู้ และความสามารถให้กับบุคลากรนั้น เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน อันจะก่อให้เกิดผลสำเร็จสูงสุดทั้งต่อองค์การและตัวบุคลากรนั้น ทั้งนี้รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การด้วย จัดเป็นงานที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีความหลากหลาย ต้องเสริมสร้างความสมรรถภาพการทำงาน ต้องลงทุนทั้งระยะเวลาและค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างทักษะและความชำนาญ
              (ที่มา : http://pws.npru.ac.th)
            

         ปัจจัยสำคัญของการบริหารนั้นประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญ 4 ประการ นั่นก็คือ มนุษย์, เงินทุน, วัสดุอุปกรณ์ต่าง, และการบริหารจัดการ ใน 4 ประการนี้ส่วนที่มีความสำคัญที่สุดเห็นจะเป็นมนุษย์นั่นเอง เพราะนี่คือทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์มากที่สุดในการบริหารจัดการแต่ละองค์กร บุคคลที่มีศักยภาพย่อมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างมีศักยภาพในคราวเดียวกันด้วย การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้องค์กรเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างไม่สะดุดใดๆ หน้าที่ในการบริหารจัดการบุคคลนี้ถือว่าเป็นภารกิจสำคัญอย่างยิ่งสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคล ซึ่งการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ

  การพิจารณาบทบาทหน้าที่และการควบคุมการทำงานของบุคลากรให้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ กระบวนการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

               1. ระยะการคัดเลือกหรือได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ ในกระบวนการนี้มีกิจกรรมสำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่

                   1.1 ขั้นตอนการวางแผน เริ่มจากกำหนดอัตรากำลังทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การคำนวณจำนวนบุคลากรที่จะรับตามกรอบอัตรากำลัง การจัดทำประวัติบุคลากร การประเมินความเปลี่ยนแปลงของอัตรากำลัง เช่น ลาออก โอน ย้าย หรือเกษียณ และการวางแผนพัฒนาทรัพยากร เช่น ให้การศึกษาอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ
                   1.2 ขั้นตอนการสรรหา เป็นการประกาศเชิญชวนผู้สนใจให้มาสมัคร และอาจสรรหาจาก          ทรัพยากรภายในองค์การหรือภายนอกองค์การก็ได้ แต่ต้องให้เหมาะสมกับหน้าที่งาน กระบวนการสรรหา   เริ่มจากการสอบแข่งขัน การสัมภาษณ์ หรือวิธีการอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้
                   1.3 ขั้นตอนการคัดเลือก วิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานจะมีหลายรูปแบบหลักๆมักจะเป็นการ   วัดความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้นๆ เช่น การตรวจสอบประวัติจากเอกสาร การ       สัมภาษณ์ การทดสอบความรู้ การทดสอบภาคปฏิบัติ และการทดสอบทางจิตวิทยา
                   1.4 การปฐมนิเทศ คือ การแนะนำให้เข้าใจวัฒนธรรมขององค์กรระบบการทำงาน

             2. ระยะการควบคุมดูแลและรักษาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างปฏิบัติงานในองค์กร ประกอบด้วย 

             การประเมินผลงาน การจัดวางคน การฝึกอบรมและพัฒนา ระเบียบวินัย การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ การช่วยเหลือให้คำปรึกษา การดูแลสุขภาพและความปลอดภัย ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์สามารถทำงานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

              
             3. ระยะสุดท้าย คือการพ้นจากงาน การจัดสวัสดิการตอบแทนหลังเกษียณหรือการพ้นจากงานในกรณีอื่นๆเช่นการเลิกจ้าง

วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

          การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะช่วยขยายบทบาทหน้าที่งานด้านทรัพยากรมนุษย์ให้มีขอบข่ายของการปฏิบัติที่กว้างขึ้น เพื่อครอบคลุมดูแลการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรและองค์การ ดังนี้

          1. เพื่อช่วยให้บุคลากรใช้ทักษะ ความรู้ ความสามารถปฏิบัติงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อช่วยองค์การดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
          2. เพื่อช่วยคัดสรรบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีแรงจูงใจใฝ่หาผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับสูงเข้ามาปฏิบัติงาน
          3. เพื่อยกระดับความสามารถ และสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
          4. เพื่อพัฒนา และธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณค่าให้ปฏิบัติงานในระดับที่พึงปรารถนาขององค์การ
          นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมยังสามารถตอบสนองความต้องการในระดับต่างๆ ได้ดังนี้

          1. สนองความต้องการระดับสังคม  ( Society’s Requirment )  โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ ให้บุคลากรทุกคนมีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม มีงานทำมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นผู้นำที่ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ต้องการของสังคม
          2. สนองความคาดหวังระดับการบริหารขององค์การ ( Management’s ) ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ องค์การมีความคาดหวังที่จะได้บุคลากรที่มีศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลทำให้องค์การเจริญเติบโตก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นงานด้ายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงต้องตระหนักภาระหน้าที่ที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดคนเข้าทำงาน โดยดูแลตั่งแต่ก่อนเข้าปฏิบัติงาน ระหว่างปฏิบัติงาน และหลังปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความมั่นใจ ความศรัทธา ให้แก่บุคลากรทุกคนที่จะเข้ามาร่วมงาน และสร้างความแข็งแกร่งให้องค์การต่อไป
          3. สนองความต้องการระดับผู้ปฏิบัติงาน ( Employee’s Need ) องค์การจะต้องตระหนักเสมอว่า บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคนต่างมุ่งหวังที่จะมีวิธีการดำรงชีวิตที่ดีในสังคม ครอบครัวมีความสุข สังคมยอมรับยกย่อง และมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ดังนั้น ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงไม่ควรละเลยต่อความต้องการพื้นฐานที่บุคลากรทุกคนควรจะได้รับ เพราะ สิ่งเหล่านี้จะย้อนกลับมาสร้างความเจริญเติบโตให้แก่องค์การในท้ายที่สุด


(ที่มา : http://www.tpa.or.th,2555)


ขอบเขตของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

          ขอบเขตของการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นมีความกว้างและครอบคลุมหลายด้าน ดังนี้

1. ด้านบุคคล
          การบริหารทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวพันโดยตรงกับงานฝ่ายบุคคลส่วนต่าง ๆ เช่น
                   – การวางแผนเกี่ยวกับกำลังคนหรือการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
                             – การสรรหาบุคลากร
                             – การคัดเลือกบุคลากร
                             – การบรรจุหรือแต่งตั้งบุคลากร
                             – การโยกย้ายบุคลากร
                             – การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง
                             – การฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
                             – การเลิกจ้างและการยุบตำแหน่ง
                             – การจัดการบริหารค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์ที่พนักงานพึงได้
                             – การสร้างแรงจูงใจด้วยการให้เงินเดือนขึ้น
                             – การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

2. ด้านสวัสดิการ
          การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เอื้ออำนวยต่อการทำงานให้มากที่สุด เช่น
                             – การดูแลโรงอาหาร ห้องพักกลางวัน ห้องอาหาร
                             – การจัดการที่พักอาศัยให้กับพนักงาน
                             – การจัดการด้านการคมนาคมขนส่ง
                             – การอำนวยความสะดวกด้านการแพทย์ เช่น ดูแลห้องพยาบาล
                             – การจัดการการให้ทุน หรือส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับพนักงาน
                             – การจัดการบริหารค่าตอบแทนให้พนักงานอย่างเหมาะสม
                             – การดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน
                             – การจัดการสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหรือจัดกิจกรรมสันทนาการให้กับพนักงาน

3. ด้านความสัมพันธ์กับธุรกิจและองค์กร
          การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยังครอบคลุมถึงการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับองค์กรในด้านต่าง ๆ เช่น
                             – การส่งเสริมเรื่องแรงงานสัมพันธ์
                             – การจัดการการประชุมระหว่างผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้าง
                             – การจัดการการเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
                             – การจัดการเรื่องการร้องทุกข์ของบุคลากร
                             – การดำเนินการเกี่ยวกับระเบียบวินัยของพนักงาน
                             – การจัดการการระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและพนักงานทั่วไป


(ที่มา : https://th.jobsdb.com,2561)


กระบวนการผลิต

              กระบวนการผลิตประเภทใดที่ผู้ผลิตและบริษัทผู้ให้บริการใช้ในการวางแผนการผลิตการตัดสินใจครั้งแรกเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตประเภทใดวิธีสร้างสินค้าหรือบริการที่ดีที่สุดเหมาะสมกับเป้าหมายของบริษัทและความต้องการของลูกค้าการพิจารณาที่สำคัญคือประเภทของสินค้าหรือบริการที่กำลังผลิตเนื่องจากสินค้าที่ต่างกันอาจต้องการกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันโดยทั่วไปการผลิตมีสามประเภท: การผลิตจำนวนมากการปรับแต่งจำนวนมากและการปรับแต่งนอกเหนือจากประเภทการผลิต   ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการยังจัดประเภทกระบวนการผลิตในสองวิธี คือ

                          1. วิธีการแปลงอินพุตเป็นเอาต์พุตและ 
                          2. ระยะเวลาของกระบวนการ

               การผลิตจำนวนมากผลิตสินค้าที่เหมือนกันจำนวนมากในครั้งเดียวเป็นผลิตภัณฑ์ของการปฏิวัติอุตสาหกรรม รถยนต์Model-T ของHenry Ford เป็นตัวอย่างที่ดีของการผลิตจำนวนมาก รถแต่ละคันเปิดออกโดยฟอร์ดโรงงานของนั้นเหมือนกันหมดไปจนถึงสีของมัน หากคุณต้องการรถสีใดก็ได้ยกเว้นสีดำแสดงว่าคุณไม่มีโชค สินค้ากระป๋องยาที่ขายตามเคาน์เตอร์และเครื่องใช้ในครัวเรือนเป็นอีกตัวอย่างของสินค้าที่ผลิตเป็นจำนวนมาก ความสำคัญในการผลิตจำนวนมากคือการรักษาต้นทุนการผลิตให้ต่ำโดยการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันโดยใช้กระบวนการที่ทำซ้ำและได้มาตรฐาน เมื่อผลิตภัณฑ์มีความซับซ้อนในการผลิตการผลิตจำนวนมากก็มีความซับซ้อนมากขึ้น

กระบวนการทางการเงิน

                กระบวนการทางการเงินหมายถึงวิธีการและขั้นตอนเสร็จสมบูรณ์โดยสำนักงานการคลัง พวกเขารวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดทำงบประมาณการวางแผน (การวางแผนเชิงกลยุทธ์กำไรขาดทุนและการวางแผนงบดุลการวางแผนทรัพยากรบุคคลการวางแผนทุนการวางแผนโครงการการวางแผนกำลังการผลิตและกำลังการผลิตการ วางแผนการขายและการดำเนินงานเป็นต้น) การคาดการณ์ (การพยากรณ์ระยะยาวการคาดการณ์การหมุนการพยากรณ์กระแสเงินสดและอื่นๆ) การสร้างแบบจำลองการเงินปิดการรวบรวมการรายงาน (การจัดการตามกฎหมายการเปิดเผย) 

กลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงาน

            จะเน้นถึงความต้องการของลูกค้าที่สะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายระยะยาวขององค์การ  อาศัยความร่วมมือจากแผนกการตลาดและการผลิตที่จะทำการค้นหาความต้องการของลูกค้าละนำมากำหนดเป็นความได้เปรียบทางการผลิตการผลิตตามความต้องการของลูกค้าและปริมาณการผลิตมีความยืดหยุ่น  ซึ่งริทซ์แมนและกาจิวสกีจำแนกกลยุทธ์การผลิตเป็น  3 กลยุทธ์ ดังนี้

      1. การเก็บเป็นสินค้าคงคลัง ธุรกิจมักจะมีการผลิตสินค้าเพื่อเก็บเป็นสินค้าคงคลังที่พร้อมส่งมอบแก่ลูกค้าทันที  เหมาะกับการผลิตสินค้ามาตรฐานที่มีการผลิตในปริมาณมาก
      2. การผลิตตามคำสั่ง เป็นการผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าโดยผลิตเป็นล็อต ในปริมาณน้อยการออกแบบกระบวนการผลิตแต่ละครั้งจะขึ้นกับความต้องการของลูกค้า

      3. การประกอบสินค้าตามคำสั่ง เป็นการประกอบชิ้นส่วนมาตรฐานตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ในคำสั่งซื้อของลูกค้า และนำมาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน


(ที่มา : https://www.tagetik.com)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น